หลักเกณฑ์การพิจารณา
  1. เป็นบุคคลในคณะผู้แทนทางทูต ซึ่งรัฐบาลต่างประเทศส่งเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในราชอาณาจักรหรือซึ่งเดินทางผ่านราชอาณาจักรเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศอื่น และ
  2. ถือหนังสือเดินทางทูต (DIPLOMATIC PASSPORT) หรือหนังสือเดินทางราชการ (OFFICIAL / SERVICE / SPECIAL PASSPORT) หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติ (UNITED NATIONS LAISSEZ-PASSER ที่ได้รับการตรวจลงตราหรือได้รับการยกเว้น การตรวจลงตรา ตามที่รัฐบาลของประเทศนั้น ได้ทำความตกลงไว้กับรัฐบาลไทย
  3. ได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
เอกสารประกอบที่ต้องใช้
  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ขออยู่ต่อ
  3. หนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
หลักเกณฑ์การพิจารณา
  1. เป็นพนักงานฝ่ายกงสุลหรือลูกจ้างฝ่ายกงสุล ซึ่งรัฐบาลต่างประเทศส่งเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในราชอาณาจักร หรือซึ่งเดินทางผ่านราชอาณาจักร เพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศอื่น และ
  2. ถือหนังสือเดินทางทูต (DIPLOMATIC PASSPORT) หรือหนังสือเดินทางราชการ (OFFICIAL / SERVICE / SPECIAL PASSPORT) หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติ (UNITED NATIONS LAISSEZ-PASSER หรือถือหนังสือเดินทางธรรมดา (ORDINARY PASSPORT) ที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ(NON-IMMIGRANT VISA category F) หรือได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา ตามที่รัฐบาลของประเทศนั้นได้ทำความตกลงไว้กับรัฐบาลไทย
  3. ได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
เอกสารประกอบที่ต้องใช้
  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผขออยู่ต่อ
  3. หนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
หลักเกณฑ์การพิจารณา
  1. เป็นบุคคลซึ่งรัฐบาลต่างประเทศโดยความเห็นชอบของรัฐบาลไทย ให้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในราชอาณาจักร และ
  2. ถือหนังสือเดินทางทูต (DIPLOMATIC PASSPORT) หรือหนังสือเดินทางราชการ (OFFICIAL / SERVICE / SPECIAL PASSPORT) หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติ (UNITED NATIONS LAISSEZ-PASSER หรือถือหนังสือเดินทางธรรมดา (ORDINARY PASSPORT) ที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ(NON-IMMIGRANT VISA category F) หรือถือหนังสือเดินทืางธรรมดา (ORDINARY PASSPORT) และได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เพื่อการต่างๆ นอกจาก หรือถือหนังสือเดินทางธรรมดา (ORDINARY PASSPORT) ที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ(NON-IMMIGRANT VISA category F) หรือได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา ตามที่รัฐบาลของประเทศนั้น ได้ทำความตกลงที่รัฐบาลไทย
  3. ได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากส่วนราชการระดับกรมหรือดเทียบเท่า
เอกสารประกอบที่ต้องใช้
  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. หนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า
หลักเกณฑ์การพิจารณา
  1. เป็นคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจในราชอาณาจักรเพื่อรัฐบาลไทย ตามความตกลงที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ และ
  2. ถือหนังสือเดินทางทูต (DIPLOMATIC PASSPORT) หรือหนังสือเดินทางราชการ (OFFICIAL / SERVICE / SPECIAL PASSPORT) หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติ (UNITED NATIONS LAISSEZ-PASSER หรือถือหนังสือเดินทางธรรมดา (ORDINARY PASSPORT) ที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ(NON-IMMIGRANT VISA category F) หรือถือหนังสือเดินทืางธรรมดา (ORDINARY PASSPORT) และได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เพื่อการต่างๆ นอกจากหรือถือหนังสือเดินทางธรรมดา (ORDINARY PASSPORT) ที่ได้ รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ(NON-IMMIGRANT VISA category F) หรือได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา ตามที่รัฐบาลของประเทศนั้น ได้ทำความตกลงไว้กับรัฐบาลไทย
  3. ได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากส่วนราชการระดับกรมหรือดเทียบเท่า
เอกสารประกอบที่ต้องใช้
  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. หนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า
  4. บันทึกความตกลงที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ
หลักเกณฑ์การพิจารณา
  1. เป็นหัวหน้าสำนักงานขององคืการ หรือทบวงการระหว่างประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครองการดำเนินงานในประเทศไทย หรือซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความเห็นชอบด้วยแล้ว หรือ
    เป็นพนักงานหรือผู้เชี่ขวชาญหรือบุคคลหรือซึ่งองค์การ หรือ ทบวงการตามวรรคแรก แต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฎิบัติหน้าที่ หรือภารกิจในราชอาณาจักร เพื่อองค์การ หรือทบวงการดังกล่าว หรือเพื่อรัฐบาลไทยตามความตกลงที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้กบองค์การ หรือทบวงการระหว่างประเทศนั้น และ
  2. ถือหนังสือเดินทางทูต (DIPLOMATIC PASSPORT) หรือหนังสือเดินทางราชการ (OFFICIAL / SERVICE / SPECIAL PASSPORT) หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติ (UNITED NATIONS LAISSEZ-PASSER หรือถือหนังสือเดินทางธรรมดา (ORDINARY PASSPORT) ที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ(NON-IMMIGRANT VISA category F) หรือถือหนังสือเดินทางธรรมดา (ORDINARY PASSPORT) และได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เพื่อการต่างๆ นอกจากหรือถือหนังสือเดินทางธรรมดา (ORDINARY PASSPORT) ที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ(NON-IMMIGRANT VISA category F) หรือได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา ตามที่รัฐบาลของประเทศนั้น ได้ทำความตกลงไว้กับรัฐบาลไทย
  3. ได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากส่วนราชการระดับกรมหรือดเทียบเท่า
เอกสารประกอบที่ต้องใช้
  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. หนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า
หลักเกณฑ์การพิจารณา
  1. เป็นหัวหน้าสำนักงานขององคืการ หรือทบวงการระหว่างประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครองการดำเนินงานในประเทศไทย ครัวเรือนของบุคคในคณะผู้แทนทางทูต, พนักงานหรือลูกจ้างฝ่ายกงสุล, บุคคลซึ่งรัฐบาลต่างประเทศโดยความเห็นชอบของรัฐบาลไทยให้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในราชอาณาจักร,บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในราชอาณาจักร ตามความตกลงที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ, หัวหน้าสำนักงานหรือพนักงาน หรือผู้เชี่ยวชาญ หรือบุคคลอื่น ซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในราชอาณาจักร ตามความตกลงที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้กับองค์การ หรือทบวงการระหว่างประเทศ และ
  2. ถือหนังสือเดินทางทูต (DIPLOMATIC PASSPORT) หรือหนังสือเดินทางราชการ (OFFICIAL / SERVICE / SPECIAL PASSPORT) หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติ (UNITED NATIONS LAISSEZ-PASSER หรือถือหนังสือเดินทางธรรมดา (ORDINARY PASSPORT) ที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ(NON-IMMIGRANT VISA category F) หรือถือหนังสือเดินทืางธรรมดา (ORDINARY PASSPORT) และ ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เพื่อการต่างๆ นอกจากหรือถือหนังสือเดินทางธรรมดา (ORDINARY PASSPORT) ที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ(NON-IMMIGRANT VISA category F) หรือได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา ตามที่รัฐบาลของประเทศนั้น ทำความตกลงไว้กับรัฐบาลไทย
  3. ได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากส่วนราชการระดับกรมหรือดเทียบเท่า
เอกสารประกอบที่ต้องใช้
  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. หนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า
หลักเกณฑ์การพิจารณา
  1. แบบคำขอ ตม.7
    สำเนาหนังสือเดินทาง
    หนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่าเป็นคนรับใช้ส่วตัวซึ่งเดินทืางจากต่างประเทศ เพื่อมาทำงานประจำเป็นปกติ ณ ที่พักอาศัยบองบุคคลในคณะผู้แทนทางทูต หรือ ณ ที่พักอาศัยของบุคคลซึ่งได้รับเอกสิทธิเท่าเทียมกันกับบุคคลซึ่งมีตำแหน่งทางทูตตามความตกลงที่รัฐบาลไทยไดทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือกับองค์การ หรือทบวงการระหว่างประเทศ และ
  2. ถือหนังสือเดินทางทูต (DIPLOMATIC PASSPORT) หรือหนังสือเดินทางราชการ (OFFICIAL / SERVICE / SPECIAL PASSPORT) หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติ (UNITED NATIONS LAISSEZ-PASSER หรือถือหนังสือเดินทางธรรมดา (ORDINARY PASSPORT) ที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ(NON-IMMIGRANT VISA category F) หรือถือหนังสือเดินทืางธรรมดา (ORDINARY PASSPORT) และ ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เพื่อการต่างๆ นอกจาก หรือถือหนังสือเดินทางธรรมดา (ORDINARY PASSPORT) ที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ยกเว้นการตรวจลงตรา ตามที่รัฐบาลของประเทศนั้น ทำความตกลงไว้กับรัฐบาลไทย
  3. ได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
เอกสารประกอบที่ต้องใช้
  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. หนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า
คำแนะนำและรายละเอียดสำหรับการยื่นคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (ในโควต้าประจำปี)

คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ

  1. ต้องถือหนังสือเดินทางของประเทศที่ตนเองถือสัญชาติอยู่ในปัจจุบัน และต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (NON-IMMIGRANT
    VISA) พร้อมกับได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปีมาแล้ว รอบเวลาการพำนักอยู่ไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ

  2. เหตุผลในการยื่นคำขอ เช่น
    (1) ขอเข้ามาเพื่อการลงทุน
    (2) ขอเข้ามาเพื่อทำงาน
    (3) ขอเข้ามาเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรม แบ่งเป็น มีความสัมพันธ์กับบุคคลสัญชาติไทย หรือ มีความสัมพันธ์กับบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่แล้ว ได้แก่
    – เป็นสามี – ภรรยา
    – เป็นบิดา – มารดา
    – เป็นบุตรอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่ยังไม่สมรส
    (4) ขอเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญ
    (5) กรณีพิเศษเฉพาะราย

กำหนดวันเปิดรับคำขอ

หลังจากกระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศกำหนดจำนวนคนต่างด้าวที่จะเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี และได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจึงจะสามารถออกประกาศเปิดรับคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปีได้ และจะสิ้นสุดการเปิดรับคำขอฯ ในวันทำการสุดท้ายของปีนั้น ซึ่งสามารถสอบถามวันเปิดรับคำขอและรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารประกอบคำขอได้ที่ กองกำกับการ 1 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารบี ชั้น 2 ถ.แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร. 0-22143-8224-5 , 0-2141-9898-9 หรือ ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองส่วนภูมิภาค และเมื่อเปิดรับคำขอแล้ว คนต่างด้าวจะต้องไปยื่นคำขอด้วยตนเอง พร้อมเอกสารประกอบตามประเภทการยื่นคำขอ และให้นำหนังสือเดินทางฉบับจริงทุกเล่มมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย

ขั้นตอนการดำเนินการหลังจากรับคำขอแล้ว
  1. เจ้าหน้าที่จะประทับตราอนุญาตให้อยู่รอฟังผลการพิจารณา ครั้งแรก 180 วัน ครั้งต่อไป ครั้งละ 180 วัน จนกว่าจะทราบผลการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง
  2. รับใบนัดหมายให้คนต่างด้าว และผู้เกี่ยวข้องมาสัมภาษณ์ โดยจะมีการทดสอบความสามารถพูดภาษาไทย และฟังภาษาไทย เข้าใจได้ ( คนต่างด้าวจะต้องมาตรงตามวันที่นัดหมาย หากไม่มาตามที่นัดหมายโดยไม่มีเหตุผลอันควร จะถือว่าสละสิทธิ์การยื่นคำขอดังกล่าว )
  3. คนต่างด้าวที่มีอายุกว่าสิบสี่ปี (นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ) จะต้องได้รับการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้
    (1) พิมพ์ลายนิ้วมือคนต่างด้าวดังกล่าว ส่งไปตรวจประวัติที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร เพื่อตรวจสอบว่ามีประวัติกระทำผิดในประเทศไทยหรือไม่
    (2) ตรวจสอบหนังสือเดินทางจากระบบบัญชีเฝ้าดู (BLACK LIST) ว่าเป็นบุคคลต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 หรือไม่
    (3) ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับของตำรวจสากล (RED NOTICE) จากกองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือไม่
การพิจารณา
  1. พิจารณาโดยคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง ประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทย, กระทรวงการต่างประเทศ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม, สำนักงานอัยการสูงสุด, คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, สภาความมั่นคงแห่งชาติ, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  2. หลักเกณฑ์การพิจารณาจะคำนึงถึง รายได้ สินทรัพย์ ความรู้ ความสามารถในด้านวิชาชีพ และฐานะในครอบครัวของคนต่างด้าวกับบุคคล ซึ่งมีสัญชาติไทย เงื่อนไขเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ บุคลิกภาพ สุขภาพ ความเข้าใจภาษาไทย และเงื่อนไขอื่นๆ ตามความเหมาะสมที่สอดคล้องกับ สภาพเศรษฐกิจ สังคม และนโยบายของรัฐบาล
  3. ระยะเวลาในการพิจารณาแต่ละปีมีกำหนดระยะเวลาไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับนโยบายของคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง และกระทรวงมหาดไทย
ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
  1. ค่าธรรมเนียมสำหรับการยื่นคำขอ คนละ 7,600 บาท (เจ็ดพันหกร้อยบาทถ้วน) – จะได้รับอนุญาตหรือไม่ก็ตาม เงินค่าธรรมเนียมจะไม่คืนให้
  2. หากได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ฯ ค่าธรรมเนียมใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ฉบับละ 191,400 บาท (หนึ่งแสนเก้าหมื่นหนึ่งพันสี่ร้อยบาทถ้วน) สำหรับคนต่างด้าวที่เป็นคู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของคนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือ ของบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย ฉบับละ 95,700 บาท (เก้าหมื่นห้าพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน)
    หมายเหตุ : อัตราค่าธรรมเนียมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามกฎหมายได้ ซึ่งหากเปลี่ยนแปลงก็จะต้องชำระค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายใหม่กำหนด

หมายเหตุ
— เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องผ่านการรับรองจากสถานทูต, แปลเป็นภาษาไทยโดยระบุรายละเอียดของผู้แปล ที่สามารถตรวจสอบได้ และผ่านการรับรองการแปลจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

คำเตือน การแสดงเอกสาร หรือ ข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

ทั้งนี้หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่
กองกำกับการ 1 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารบี ชั้น 2
120 หมู่3 ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย 7 แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 0-2141-9898-9, 0-21431-8224-5

เอกสารประกอบการขอมีถิ่นที่อยู่
  1. แบบคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (แบบ ตม.9)

  2. ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลรัฐบาล (อายุไม่เกิน 3 เดือน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ)

  3. หนังสือรับรองว่าไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมจากประเทศที่ตนมีภูมิลำเนา โดยผ่านการรับรองจากกงสุลไทยในประเทศนั้น ๆ หรือ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย, แปลเป็นภาษาไทย และผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

  4. สำเนาเอกสารแสดงคุณวุฒิการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย, แปลเป็นภาษาไทย และผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

  5. หนังสือรับรองประวัติการทำงานจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน (ดาวน์โหลดตัวอย่าง www.immigration.go.th – การขอ มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) และสำเนาใบอนุญาตทำงาน ทุกเล่ม ทุกหน้า

  6. หนังสือรับรองเงินเดือนจากกิจการที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ ซึ่งลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามในกิจการนั้น (ตามแบบที่กำหนด) ย้อนหลัง 2 ปี (ดาวน์โหลด www.immigration.go.th – การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) และ ใบสมัครงานพร้อมสัญญาการจ้าง (ถ้ามี)

  7. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90) ของผู้ยื่นคำขอ พร้อมหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร พร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน

  8. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) ตั้งแต่ต้นปี จนถึงเดือนก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ ของสรรพากร พร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)

  9. หนังสือรับรองการโอนเงินเข้ามาในราชอาณาจักร จากธนาคารในประเทศไทย เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท

  10. หลักฐานการลงทุนในนามของผู้ยื่นคำขอ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ รวมกัน ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ในกรณีดังนี้
    (1) ลงทุนในบริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัด ทั้งนี้ ต้องถือครองการลงทุนเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกันนับ แต่วันที่ได้รับอนุญาตให้มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ และต้องยื่นเอกสาร ดังนี้ – หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ) – บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือนนับถึงวันที่ยื่นคำขอ) – สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น ภ.พ.01, ภ.พ.09 และ ภ.พ. 20 และสำเนา งบการเงิน(งบดุล งบกำไรขาดทุน) พร้อมแบบ ภ.ง.ด.50 และใบเสร็จรับเงิน จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ
    (2) ลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ ห้ามโอนกรรมสิทธิ์, จำนำพันธบัตร หรือ จำนำสิทธิเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกันนับแต่วันที่ได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ และต้องยื่นเอกสาร ดังนี้ – หนังสือรับรองการซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจดังกล่าว จากธนาคารในประเทศไทย – สำเนาพันธบัตรรัฐบาล หรือ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจดังกล่าว และต้องนำต้นฉบับมาแสดงด้วย
    (3) ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้ หรือ หน่วยลงทุน ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติ หรือ รับรอง จากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ห้ามโอนหุ้น, โอนกรรมสิทธิ์, จำนำหลัก ทรัพย์ หรือ จำนำสิทธิเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกันนับแต่วันที่ได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ และต้องยื่นเอกสาร ดังนี้ – หนังสือรับรองการซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าว และหลักฐานการลงทุนดังกล่าว พร้อมต้นฉบับมาแสดง

  11. แผนที่แสดงสถานที่พำนักอาศัย และ สถานที่ทำงาน

  12. สำเนาหนังสือเดินทางที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี (ทุกเล่ม และทุกหน้า)

  13. แบบข้อมูลบุคคล (ดาวน์โหลด www.immigration.go.th – การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) และภาพถ่ายคนต่างด้าวภายนอกสถานที่ทำงาน (คนเดียว), ภายในสถานที่ทำงานกับพนักงาน, ภายนอกโรงงาน (คนเดียว), ภายในโรงงานกับคนงาน เครื่องจักร และสินค้า (ถ้ามี), ภาพถ่ายคนต่างด้าวภายนอกที่พักอาศัย ภายในที่พักอาศัย พร้อมครอบครัว (ถ้ามี) จำนวน 10 ภาพ ขนาดโปสการ์ด ทุกภาพ ติดบนกระดาษหัวบริษัท ขนาด A4 พร้อมคำบรรยายใต้ภาพ

  14. เอกสารอื่น ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม

หมายเหตุ
– เอกสารใดเป็นเอกสารส่วนตัว ให้คนต่างด้าวรับรองสำเนาเอง
– เอกสารใดเป็นเอกสารของนิติบุคคล ให้รับรองโดยผู้มีอำนาจลงนามในนิติบุคคลนั้น พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัท
– เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย, แปลเป็นภาษาไทย โดยระบุรายละเอียดของผู้แปลที่สามารถตรวจสอบได้ และผ่านการรับรองการแปลจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

เอกสารประกอบการขอมีถิ่นที่อยู่
    1. แบบคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (แบบ ตม.9)
    2. ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลรัฐบาล (อายุไม่เกิน 3 เดือน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ)
    3. หนังสือรับรองว่าไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมจากประเทศที่ตนมีภูมิลำเนา โดยผ่านการรับรองจากกงสุลไทยในประเทศนั้น ๆ หรือ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย, แปลเป็นภาษาไทย และผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
    4. สำเนาเอกสารแสดงคุณวุฒิการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย, แปลเป็นภาษาไทย และผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
    5. หนังสือรับรองประวัติการทำงานจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน (ดาวน์โหลดตัวอย่าง www.immigration.go.th – การขอ มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) และสำเนาใบอนุญาตทำงาน ทุกเล่ม ทุกหน้า
    6. หนังสือรับรองเงินเดือนจากกิจการที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ ซึ่งลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามในกิจการนั้น (ตามแบบที่กำหนด) ย้อนหลัง 2 ปี (ดาวน์โหลด www.immigration.go.th – การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) และ ใบสมัครงานพร้อมสัญญาการจ้าง (ถ้ามี)
    7. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90) ของผู้ยื่นคำขอ พร้อมหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร พร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน
    8. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) ตั้งแต่ต้นปี จนถึงเดือนก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ ของสรรพากร พร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน
    9. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ)
    10. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ จำนวน 3 ปีก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ
    11. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือนนับถึงวันที่ยื่นคำขอ) และหากผู้ยื่นคำขอถือหุ้น ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ให้แนบบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นย้อนหลัง 3 ปี มาแสดงด้วย
    12. สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น ภ.พ.01, ภ.พ.09 และ ภ.พ.20
    13. สำเนางบการเงิน (งบดุล งบกำไรขาดทุน) พร้อมแบบ ภ.ง.ด.50 จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร พร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน
    14. หนังสือธนาคารรับรองการส่งออกสินค้าในรอบ 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ (เฉพาะกิจการที่มีการส่งออกสินค้า)
    15. หนังสือรับรองการนำนักท่องเที่ยวเข้ามาในรอบ 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว (เฉพาะกิจการท่องเที่ยว)
    16. นิติบุคคลใด ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ให้สำเนาบัตรส่งเสริม หรือ เอกสารที่แสดงว่าได้รับการส่งเสริมด้วย
    17. แผนที่แสดงสถานที่พำนักอาศัยและสถานที่ทำงาน
    18. สำเนาหนังสือเดินทางที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี (ทุกเล่มและทุกหน้า)
    19. แบบข้อมูลบุคคล (ดาวน์โหลด www.immigration.go.th – การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) และภาพถ่ายคนต่างด้าวภายนอกสถานที่ทำงาน (คนเดียว), ภายในสถานที่ทำงานกับพนักงาน, ภายนอกโรงงาน (คนเดียว), ภายในโรงงานกับคนงาน เครื่องจักร และสินค้า (ถ้ามี), ภาพถ่ายคนต่างด้าวภายนอกที่พักอาศัย ภายในที่พักอาศัย พร้อมครอบครัว (ถ้ามี) จำนวน 18 ภาพ ขนาดโปสการ์ด ทุกภาพ ติดบนกระดาษหัวบริษัท ขนาด A4 พร้อมคำบรรยายใต้ภาพ
    20. เอกสารอื่น ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม

หมายเหตุ
– เอกสารใดเป็นเอกสารส่วนตัว ให้คนต่างด้าวรับรองสำเนาเอง
– เอกสารใดเป็นเอกสารของนิติบุคคล ให้รับรองโดยผู้มีอำนาจลงนามในนิติบุคคลนั้น พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัท
– เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย, แปลเป็นภาษาไทย โดยระบุรายละเอียดของผู้แปลที่สามารถตรวจสอบได้ และผ่านการรับรองการแปลจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

เอกสารประกอบการขอมีถิ่นที่อยู่
  1. แบบคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (แบบ ตม.9)
  2. ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลรัฐบาล (อายุไม่เกิน 3 เดือน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ)
  3. หนังสือรับรองว่าไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมจากประเทศที่ตนมีภูมิลำเนา โดยผ่านการรับรองจากกงสุลไทยในประเทศนั้น ๆ หรือ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย, แปลเป็นภาษาไทย และผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (เฉพาะผู้ยื่นคำขอที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป)
  4. สำเนาเอกสารรับรองการเป็นครอบครัว ได้แก่ ใบสำคัญการสมรส หรือ ทะเบียนสมรส ที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน, ใบสูติบัตรบุตร, สำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น ซึ่งหากเป็นเอกสารต่างประเทศ ให้ผ่านการรับรองเอกสารเช่นเดียวกับ ข้อ 3. และหากเป็นการจดทะเบียน ในประเทศไทย ให้หน่วยงานนั้น ๆ รับรองสำเนา
  5. สำเนาใบสำคัญถิ่นที่อยู่, ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว, หนังสือเดินทาง และสำเนาทะเบียนบ้านในประเทศไทยทุกหน้าที่มีรายการ ของผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยแล้ว พร้อมทั้งนำต้นฉบับไปแสดงด้วย
  6. สำเนาเอกสารแสดงคุณวุฒิการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย, แปลเป็นภาษาไทย และผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ หรือหนังสือรับรองว่าผู้ยื่นคำขอกำลังศึกษาอยู่ แล้วแต่กรณี
  7. หนังสือรับรองประวัติการทำงานจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน (ดาวน์โหลดตัวอย่าง www.immigration.go.th – การขอ มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) และ สำเนาใบอนุญาตทำงาน ทุกเล่ม ทุกหน้า
  8. หนังสือรับรองเงินเดือนจากกิจการที่ผู้ให้ความอุปการะทำงานอยู่ ซึ่งลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามในกิจการนั้น (ตามแบบที่กำหนด) ย้อนหลัง 2 ปี (ดาวน์โหลด www.immigration.go.th – การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) และใบสมัครงานพร้อมสัญญาการจ้าง (ถ้ามี)
  9. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90) ของผู้ให้ความอุปการะ พร้อมหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร พร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน
  10. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) ตั้งแต่ต้นปี จนถึงเดือนก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ ของสรรพากร พร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน
  11. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ผู้ให้ความอุปการะทำงานอยู่ (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ)
  12. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ผู้ให้ความอุปการะทำงานอยู่ จำนวน 3 ปีก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ
  13. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือนนับถึงวันที่ยื่นคำขอ) และหากผู้ให้ความอุปการะถือหุ้น ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ให้แนบบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นย้อนหลัง 3 ปี มาแสดงด้วย
  14. สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น ภ.พ.01, ภ.พ.09 และ ภ.พ.20
  15. สำเนางบการเงิน (งบดุล งบกำไรขาดทุน) พร้อมแบบ ภ.ง.ด.50 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร พร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน (กรณีเป็นส่วนราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ ไม่ต้องนำมาแสดง)
  16. หนังสือธนาคารรับรองการส่งออกสินค้าในรอบ 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ (เฉพาะกิจการที่มีการส่งออกสินค้า)
  17. หนังสือรับรองการนำนักท่องเที่ยวเข้ามาในรอบ 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว(เฉพาะกิจการท่องเที่ยว)
  18. นิติบุคคลใด ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ให้สำเนาบัตรส่งเสริม หรือ เอกสารที่แสดงว่าได้รับการส่งเสริมด้วย
  19. แผนที่แสดงสถานที่พำนักอาศัยและสถานที่ทำงาน (ดาวน์โหลด www.immigration.go.th – การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี)
  20. สำเนาหนังสือเดินทางที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี (ทุกเล่มและทุกหน้า)
  21. แบบข้อมูลบุคคล (ดาวน์โหลด www.immigration.go.th – การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) และภาพถ่ายผู้ให้ความอุปการะ ภายนอกสถานที่ทำงาน (คนเดียว), ภายในสถานที่ทำงานกับพนักงาน, ภายนอกโรงงาน (คนเดียว), ภายในโรงงานกับคนงาน เครื่องจักร และสินค้า (ถ้ามี), ภาพถ่ายคนต่างด้าวภายนอกที่พักอาศัย ภายในที่พักอาศัย พร้อมครอบครัว จำนวน 18 ภาพ ขนาดโปสการ์ด ทุกภาพติดบนกระดาษหัวบริษัท ขนาด A4 พร้อมคำบรรยายใต้ภาพ
  22. กรณีบุตรมาอยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดา หรือ บุตรมาให้ความอุปการะบิดาหรือมารดา ต้องนำหลักฐานการตรวจ ดีเอ็นเอ จากโรงพยาบาลของรัฐบาล แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง บุตรกับบิดา หรือมารดาด้วย แล้วแต่กรณี (เช่น บุตรขออยู่ในความอุปการะของบิดา ให้ตรวจดีเอ็นเอ ระหว่าง บุตรกับบิดา หากบุตรขออยู่ในความอุปการะของมารดา ให้ตรวจดีเอ็นเอ ระหว่าง บุตรกับมารดา เป็นต้น)
  23. เอกสารอื่น ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม

หมายเหตุ
– เอกสารใดเป็นเอกสารส่วนตัว ให้คนต่างด้าวรับรองสำเนาเอง
– เอกสารใดเป็นเอกสารของนิติบุคคล ให้รับรองโดยผู้มีอำนาจลงนามในนิติบุคคลนั้น พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัท
– เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย, แปลเป็นภาษาไทย โดยระบุรายละเอียดของผู้แปล ที่สามารถตรวจสอบได้
และผ่านการรับรองการแปลจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

เอกสารประกอบการขอมีถิ่นที่อยู่
  1. แบบคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (แบบ ตม.9)
  2. ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลรัฐบาล (อายุไม่เกิน 3 เดือน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ)
  3. หนังสือรับรองว่าไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมจากประเทศที่ตนมีภูมิลำเนา โดยผ่านการรับรองจากกงสุลไทยในประเทศนั้น ๆ หรือผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย, แปลเป็นภาษาไทย และผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
  4. สำเนาเอกสารแสดงคุณวุฒิการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย, แปลเป็นภาษาไทย และผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
  5. หนังสือรับรองการผ่านงาน หรือ ประสบการณ์การทำงาน
  6. หนังสือรับรองประวัติการทำงานจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน (ดาวน์โหลดตัวอย่าง www.immigration.go.th- การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) และสำเนาใบอนุญาตทำงาน ทุกเล่ม ทุกหน้า (ถ้ามี)
  7. หนังสือรับรองการทำงานจากหน่วยงานที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ โดยให้ระบุรายละเอียดการทำงาน รายได้ต่อเดือน
  8. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90) ของผู้ยื่นคำขอ พร้อมหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร พร้อมสำเนา ใบเสร็จรับเงิน
  9. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) ตั้งแต่ต้นปี จนถึงเดือนก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนา โดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร พร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)
  10. หนังสือสนับสนุนจากส่วนราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง
  11. แผนที่แสดงสถานที่พำนักอาศัยและสถานที่ทำงาน (ดาวน์โหลด www.immigration.go.th – การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี)
  12. สำเนาหนังสือเดินทางที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี (ทุกเล่มและทุกหน้า)
  13. แบบข้อมูลบุคคล (ดาวน์โหลด www.immigration.go.th – การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) และภาพถ่ายคนต่างด้าว ภายนอกสถานที่ทำงาน (คนเดียว), ภายในสถานที่ทำงานกับพนักงาน, ภายนอกโรงงาน (คนเดียว), ภายในโรงงานกับ คนงาน เครื่องจักร และสินค้า (ถ้ามี), ภาพถ่ายคนต่างด้าวภายนอกที่พักอาศัย ภายในที่พักอาศัย พร้อมครอบครัว (ถ้ามี) จำนวน 10 ภาพ ขนาดโปสการ์ด ทุกภาพติดบนกระดาษหัวบริษัท ขนาด A4 พร้อมคำบรรยายใต้ภาพ
  14. เอกสารอื่น ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม

หมายเหตุ
– เอกสารใดเป็นเอกสารส่วนตัว ให้คนต่างด้าวรับรองสำเนาเอง
– เอกสารใดเป็นเอกสารของนิติบุคคล ให้รับรองโดยผู้มีอำนาจลงนามในนิติบุคคลนั้น พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัท
– เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย, แปลเป็นภาษาไทย โดยระบุรายละเอียดของผู้แปลที่สามารถตรวจสอบได้ และผ่านการรับรองการแปลจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ