Skip to content
  • ข่าวสาร
  • ข้อมูลบริการ
  • บริการออนไลน์
  • สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง – Immigration Bureau Logo สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง – Immigration Bureau Logo สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง – Immigration Bureau Logo
  • ค้นหาที่ตั้ง
  • ข้อมูลอื่นๆ
    • เกี่ยวกับ สตม.
      • ประวัติ สตม.
      • ผังโครงสร้าง สตม.
      • แผนผังการบังคับบัญชา
      • ภารกิจ สตม.
      • วิสัยทัศน์ สตม.
      • ยุทธศาสตร์ สตม.
    • ข้อมูลเผยแพร่
      • สถิติ สตม.
      • คำถามที่พบบ่อย
      • ค่าธรรมเนียม
      • ระเบียบข้อบังคับ
        • กฎหมาย
        • ระเบียบคำสั่ง
      • วารสาร/รายงานประจำปี
      • ข้อพึงปฏิบัติ
        • การตรวจลงตรา
        • Visa On Arrival
        • การแจ้งที่พักคนต่างด้าว
      • ดาวน์โหลดเอกสาร
      • เว็บลิงค์
      • ข้อมูลตามหลักธรรมาภิบาล
      • วารสาร/รายงานประจำปี
    • ข้อมูลบริการ
      • คู่มือบริการ
      • การรับแจ้งอยู่ในราชอาณาจักร เกิน 90 วัน
      • การแจ้งที่พักคนต่างด้าว
      • การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี
      • การขออยู่ต่อ
      • การขออยู่ต่อตามมาตรา 15 (ทูต,ราชการ)
      • งานทะเบียนคนต่างด้าว
    • ข้อมูลบริการ (2)
      • งานบริการแรงงานต่างด้าว (MOU)
        • การขออยู่ต่อแรงงานต่างด้าว
        • การรับแจ้งอยู่ในราชอาณาจักร เกิน 90 วัน กรณีแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ
      • บริการอื่นๆ
      • ขอรับและเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา
      • ใบสำคัญถิ่นที่อยู่
  • English

ประวัติ สตม.

ประวัติ สตม.immigrationAdmin2020-11-16T04:16:58+00:00

ประวัติ สตม.

ข้อมูลจาก : รายงานประจำปี 2552 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักตำรวจแห่งชาติ มกราคม 2553

ก่อนปี พ.ศ.2470

ไม่มีระเบียบเกี่ยวกับการตรวจตราคนต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทยฉะนั้นการเดิน ทาง เข้า – ออก ของคนต่างด้าวจึงเป็นไปได้โดยเสรีจนกระทั่งปี พ.ศ.2470 รัฐบาลในสมเด็จพระ ปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตราพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2470 ขึ้น พร้อมทั้งจัดตั้งหน่วยงานและ เจ้าหน้าที่ให้มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2470 เรียกว่า “กรมตรวจคนเข้าเมือง”ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงมหาดไทยได้แต่งตั้ง นายพันตำรวจเอก พระยาวิชัยประชาบาล เป็นเจ้ากรมตรวจคนเข้าเมืองคนแรกมีสถานที่ทำงานอยู่ที่ถนนนเรศน์ เป็นอาคารสองชั้นเช่าจากเอกชน ซึ่งอยู่ใกล้สถานีตำรวจนครบาลบางรักในปัจจุบัน ขณะนั้นมีพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญประมาณ 50 – 60 คน การเดินทางเข้าออกของคนต่างด้าวส่วนใหญ่จะเข้ามาโดย พาหนะทางน้ำและทางบก มีศูนย์รวมที่ทำการอยู่ในกรุงเทพฯ และมีด่านตรวจคนเข้าเมืองมณฑลด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด และด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอบางแห่งในในภาคตะวันออกและภาคใต้เท่านั้น

พ.ศ.2475

ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองและฐานะการเงินของประเทศตกต่ำ รัฐบาลได้ตัดทอนงบประมาณรายจ่ายของประเทศลง เป็นเหตุให้กรมตำรวจคนเข้าเมืองได้ลดสถานภาพลงมาเป็น กองตรวจคนเข้าเมืองขึ้นตรงต่อกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2475

พ.ศ.2478

กองตรวจคนเข้าเมืองได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ถนนสาธรใต้ ปัจจุบันเป็นที่พักของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจนครบาลยานนาวา และเพิ่มด่านตรวจคนเข้าเมืองขึ้นทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้

พ.ศ.2483

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมตำรวจได้ขอใช้สถานทูตเยอรมันซึ่งอยู่ในความครอบครองของรัฐบาลเป็นที่ทำการกองตรวจคนเข้าเมืองและได้ปรับสถานภาพพนักงานเจ้าหน้าที่จากข้าราชการ พลเรือน เป็นข้าราชการตำรวจแต่งเครื่องแบบพิเศษ ตามธรรมเนียมของอารยประเทศ

พ.ศ.2503

กองตรวจคนเข้าเมืองได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ ที่ทำการที่ได้ก่อสร้างใหม่ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2503 ที่ปากซอยพิพัฒน์ ซึ่งต่อมาเป็นที่ทำการของกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากร

พ.ศ.2508

ได้ปรับปรุงส่วนราชการและกำหนดหน้าที่การงานของกองตรวจคนเข้าเมืองเป็น 5 กองกำกับการ 13 แผนก และด่านตรวจคนเข้าเมืองส่วนภูมิภาคอีก 58 แห่ง (ต่อมาเพิ่มศูนย์การสื่อสาร และด่านตรวจคนเข้าเมืองส่วนภูมิภาคอีกบางแห่ง)

พ.ศ.2517

กองตรวจคนเข้าเมืองได้ย้ายที่ทำการมาอยู่แห่งใหม่ (ที่ทำการในปัจจุบัน) ที่ซอยสวนพลูถนนสาธรใต้ เขตสาธร กรุงเทพฯ ซึ่งที่ทำการแห่งใหม่นี้ได้ก่อสร้างบนที่ดินของกรมธนารักษ์ มีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน54 ตารางวา สิ้นค่าก่อสร้าง 26,842,990 บาท

พ.ศ.2523

คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ได้อนุมัติกำหนดตำแหน่งข้าราชการในสังกัดกองตรวจคนเข้าเมือง ตามคุณภาพและปริมาณงานไว้ โดยมีตำแหน่ง ข้าราชการตำรวจรวมทั้งสิ้น 1,049 ตำแหน่ง

พ.ศ.2530

คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ได้อนุมัติกำหนดตำแหน่งให้งานตรวจลงตรากองกำกับการ 2 กองตรวจคนเข้าเมือง อีก 53 ตำแหน่ง และได้ปรับปรุงแผนกตรวจพาหนะทางอากาศ กองกำกับการ2กองตรวจคนเข้าเมือง โดยยกเลิกตำแหน่งเดิมทั้งหมด และกำหนดตำแหน่งขึ้นใหม่ทั้งหมด 307 ตำแหน่ง

พ.ศ.2533

คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ได้อนุมัติให้โอนกองกำกับการ 1 กองทะเบียนคนต่างด้าว มีฐานะเทียบเท่ากองกำกับการ และอนุมัติให้ปรับปรุงแผนกตรวจพาหนะทางอากาศ และ งาน ตรวจลงตรา กองกำกับการ 2 กองตรวจคนเข้าเมือง โดยกำหนดกลุ่มงานเรียกว่า “ฝ่าย” (ได้แก่ฝ่ายตรวจพาหนะทางอากาศ 1 และ 2)และงานเทียบเท่าแผนก 18 งานเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะแก้ไขพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ พ.ศ.2508 ให้ถูกต้องในภายหลัง โดยยกเลิกตำแหน่งเดิมทั้งหมด 380 ตำแหน่ง และกำหนดตำแหน่งใหม่ทั้งสิ้น 672 ตำแหน่ง

พ.ศ.2536

ได้ปรับปรุงโครงสร้างเป็นหน่วยงานระดับกองบัญชาการ โดยเรียกว่า “สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง” ประกอบด้วย 4 กองบังคับการ เพื่อให้การปฎิบัตงานของ ตม.เกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล สูงสุดตลอดจนสามารถรองรับและปฎิบัติงานในลักษณะที่สอดประสานกับแนวนโยบายแห่งรัฐ

พ.ศ.2548

ได้ปรับปรุงโครงสร้าง ประกอบด้วย 3 กองบังคับการ และ 6 หน่วยงาน เพื่อให้การปฎิบัตงานของ ตม.เกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล สูงสุดตลอดจนสามารถรองรับและปฎิบัติงานในลักษณะที่สอดประสานกับแนวนโยบายแห่งรัฐ

พ.ศ.2552

ได้ปรับปรุงโครงสร้าง ประกอบด้วย 8 กองบังคับการ และ 1 หน่วยงาน เพื่อให้การปฎิบัตงานของ ตม.เกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล สูงสุดตลอดจนสามารถรองรับและปฎิบัติงานในลักษณะที่สอดประสานกับแนวนโยบายแห่งรัฐ

Main Menu

  • ข่าวสาร
  • ข้อมูลบริการ
  • บริการออนไลน์
  • ค้นหาที่ตั้ง
  • ข้อมูลอื่นๆ
    • เกี่ยวกับ สตม.
      • ประวัติ สตม.
      • ผังโครงสร้าง สตม.
      • แผนผังการบังคับบัญชา
      • ภารกิจ สตม.
      • วิสัยทัศน์ สตม.
      • ยุทธศาสตร์ สตม.
    • ข้อมูลเผยแพร่
      • สถิติ สตม.
      • คำถามที่พบบ่อย
      • ค่าธรรมเนียม
      • ระเบียบข้อบังคับ
        • กฎหมาย
        • ระเบียบคำสั่ง
      • วารสาร/รายงานประจำปี
      • ข้อพึงปฏิบัติ
        • การตรวจลงตรา
        • Visa On Arrival
        • การแจ้งที่พักคนต่างด้าว
      • ดาวน์โหลดเอกสาร
      • เว็บลิงค์
      • ข้อมูลตามหลักธรรมาภิบาล
      • วารสาร/รายงานประจำปี
    • ข้อมูลบริการ
      • คู่มือบริการ
      • การรับแจ้งอยู่ในราชอาณาจักร เกิน 90 วัน
      • การแจ้งที่พักคนต่างด้าว
      • การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี
      • การขออยู่ต่อ
      • การขออยู่ต่อตามมาตรา 15 (ทูต,ราชการ)
      • งานทะเบียนคนต่างด้าว
    • ข้อมูลบริการ (2)
      • งานบริการแรงงานต่างด้าว (MOU)
        • การขออยู่ต่อแรงงานต่างด้าว
        • การรับแจ้งอยู่ในราชอาณาจักร เกิน 90 วัน กรณีแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ
      • บริการอื่นๆ
      • ขอรับและเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา
      • ใบสำคัญถิ่นที่อยู่
  • English

กิจกรรมล่าสุด

ติดต่อสอบถาม

  • สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
    507 ซ.สวนพลู แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

  • 1178 / 0-2287-3101
  • แฟกซ์: 0-2287-1516, 0-2287-1310
  • จันทร์ - ศุกร์: 08:30 - 16:30 น.
COPYRIGHT 2020 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง Immigration Bureau   |   ALL RIGHTS RESERVED 
YouTubeEmail
Facebook
Facebook
fb-share-icon
  • ไทย
  • English (อังกฤษ)
Go to Top